ที่เกาะโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น เป็นกลุ่มแรก ๆ ที่เพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นในเชิงพาณิชย์มากว่า 30 ปี โดยการลองผิดลองถูกกว่า 5 ปี จนประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายบนบก โดยใช้บ่อปูน เหตุผลที่เลี้ยงลักษณะบ่อก็มีสาเหตุหลัก ๆ มาจากสุขภาพของคนงาน กล่าวคือ คนส่วนใหญ่ที่เพาะเลี้ยงสาหร่ายบนเกาะโอกินาวาเป็นผู้สูงอายุ ไม่สะดวกต่อการเก็บเกี่ยวสาหร่าย เป็นอะไรที่อาจจะเกินกำลังพวกเขา จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการนำสาหร่ายขึ้นมาเลี้ยงบนบก ซึ่งระบบของพวกเขาคล้ายกับการปลูกผัก ไฮโดรโปนิค กล่าวคือ สามารถควบคุมแสง ควบคุมความเค็มของน้ำ ควบคุมอุณหภูมิของน้ำ และควบคุมแร่ธาตุในน้ำได้ทั้งหมด ทำให้สามารถกำหนดวันผลิต วันเก็บเกี่ยวได้ และมีสาหร่ายไว้จำหน่ายได้เกือบทั้งปี ดังรูปข้างล่าง
วิธีการเลี้ยงในลักษณะนี้ในญี่ปุ่น เป็นการเลี้ยงภายในอาคาร ที่มีแสงทะลุผ่านได้ เริ่มจากการนำสาหร่ายผูกยึดติดกับแผงตาข่าย และปล่อยแช่ลงในน้ำเค็มที่เตรียมไว้ในบ่อปูนลึกประมาณ 30-40 cm. มีการใช้ตาข่ายบังแสงในวันที่แสงแดดแรง มีการเปิดปั๊มลมเพื่อให้น้ำมีการเคลื่อนไหว น้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงสาหร่ายควรมีสารอาหารเพียงพอ อย่างเช่นแอมโมเนียรวมไม่น้อยกว่า 0.05 ppm. ค่า PH ของน้ำก็อยู่ในช่วง 8-9 ความเค็มไม่ควรต่ำกว่า 28-30 ppt และอุณหภูมิอยู่ในช่วง 25-32 องศาเซลเซียส (สาหร่ายเติบโตได้ดีที่สุดในช่วงอุณหภูมิที่ 27 องศาเซลเซียส) ด้วยเหตุผลนี้ สาหร่ายชนิดนี้จะไม่สามารถเติบโตได้เลยในพื้นที่หนาว อย่างยุโรป เกาหลีใต้ และอีกหลาย ๆ ประเทศที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส มีการเติมปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจน และฟอสฟอรัส ผสมกันทุก ๆ 2-3 วัน ระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 30-45 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ วิธีนี้ไม่ใช่การเลี้ยงในแบบ organic เพราะมีการใส่ปุ๋ยเคมีอย่างสม่ำเสมอเพื่อการเลี้ยงสาหร่าย
-มีผลผลิตสม่ำเสมอ ประมาณการณ์ผลผลิตได้ล่วงหน้า
-ไม่ใช้แร่ธาตุจากดิน จึงเพิ่มแร่ธาตุในบ่อน้อยกว่า
-ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างสม่ำเสมอ
-ต้นทุนการผลิตสูง ใช้แรงงานมาก
-ต้องใช้แรงงานจำนวนมากในการดูแลแผงสาหร่าย ทั้งการปัดฝุ่น การเลี้ยงและเก็บเกี่ยว
-แร่ธาตุจากน้ำ ทำให้สาหร่ายอาจไม่อุดมสมบูรณ์ เมื่อเปรียบเทียบกับโยนลงบ่อ