วิธีนี้เป็นการผสมผสานระหว่างการเลี้ยงแบบบ่อปูน ซึ่งใช้หลักการยึดสาหร่ายกับแผงท่อ PVC และใช้ต้นพันธ์ุยึดกับแผงทั้งบนและล่าง เพื่อให้สาหร่ายไม่ขยับไปไหน และเจริญเติบโตในอัตราใกล้กัน แต่ไม่ได้เลี้ยงในบ่อปูน แต่นำไปเลี้ยงในบ่อธรรมชาติ ที่ไม่ได้ควบคุมความเค็มของน้ำ แร่ธาตุ และแสงได้แบบเบ็ดเสร็จ แต่มีต้นทุนที่ถูกกว่าในแบบที่ญี่ปุ่นเลี้ยง เพราะกระบวนการเลี้ยงแบบบ่อปูน ใช้งบประมาณค่อนข้างสูง หากราคาการตลาดเป็นแบบเดียวกับที่ญี่ปุ่น แน่นอนว่าจะมีการลงทุนแบบที่ญี่ปุ่นมากมาย แต่ด้วยราคาสาหร่ายพวงองุ่นในไทย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ไม่ได้มีราคาสูงอย่างที่ญี่ปุ่น ทำให้การลงทุนในรูปแบบควบคุมเบ็ดเสร็จยังเป็นไปได้ยาก และยังต้องมีพื้นที่ใกล้เคียงกับทะเล เพื่อการบำบัดน้ำเข้า-ออกด้วย อย่างไรก็ตาม ด้วยวิธีนี้ยังมีข้อดีตรงที่สามารถพอคาดการณ์ปริมาณการผลิตต่อวันได้ วางแผนการผลิตได้ ซึ่งต่างจากการเลี้ยงสาหร่ายแบบโยนลงบ่อที่นิยมกัน เนื่องจากวิธีดังกล่าวนั้นต้นทุนถูกกว่ามาก วิธีนี้จำเป็นต้องมีคนดูแลสาหร่ายอย่างใกล้ชิด มีการลงไปปัดฝุ่นที่อาจจะมาเกาะสาหร่าย หากไม่มีการทำความสะอาดหรือล้างฝุ่นออกเลย ฝุ่นหรือตะกอนที่อยู่ในน้ำจะเริ่มเกาะตัวหนาขึ้นเรื่อย ๆ จนบดบังแสงทำให้สาหร่ายไม่ได้รับแสง เพียงพอเกิดปัญหาการเจริญเติบโต หรืออาจจะทำให้สาหร่ายเสียหายและตายลงในที่สุด
-สามารถวางแผนการผลิตและพอคาดการณ์ปริมาณการผลิตได้
-ง่ายต่อการจัดเก็บและทยอยเลี้ยงเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
-มีการใช้แร่ธาตุจากดินน้อยกว่าวิธีหว่านลงในบ่อทำให้บ่อสามารถใช้เพื่อปลูกสาหร่ายพวงองุ่นได้นานกว่า
-ใช้แรงงานมาก ต้องมีการหมั่นทำความสะอาดแผง ปัดฝุ่น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง
-ไม้ไผ่ต้องมีการเปลี่ยนทุกครั้งที่มีการปลูกเนื่องด้วยน้ำหนักของสาหร่ายที่ทำให้ไม้ไผ่โค้งงอ
-หากมีการเปลี่ยนน้ำเข้า-ออก ด้วยวิธีนี้สาหร่ายจะไม่ได้รับแสงอย่างสม่ำเสมอ แตกต่างจากวิธีการใช้กระชังที่บุญธิดาฟาร์มใช้…อ่านเพิ่มเติม(ช่วงทดลองเลี้ยงสาหร่ายโดยแขวนกับกระชัง)