แนวทางการทำสาหร่ายพวงองุ่นบรรจุขวด
แนวทางการทำสาหร่ายพวงองุ่นบรรจุขวด
จากที่ศึกษาและได้กล่าวถึงปัญหาของสาหร่าย ปัญหาหลัก ๆ ของสาหร่ายพวงองุ่นคือการเก็บรักษา เพราะสาหร่ายพวงองุ่นมีคุณลักษณะที่ไม่สามารถคงสภาพอยู่ได้นาน ไม่ต่างจากผลไม้ หรือผักสด ที่มีอายุสั้นในการวางจำหน่าย ทำให้ต้นทุนของร้านค้า ร้านอาหาร หรือผู้ผลิตสูงขึ้น เพราะต้องทิ้งบางส่วนของสาหร่ายพวงองุ่นที่ซื้อมา ด้วยเหตุผลว่า สาหร่ายคายน้ำ สาหร่ายสลดไม่น่าทาน สาหร่ายเริ่มส่งกลิ่น ฯลฯ นั่นหมายถึง waste ที่บางทีตามสายงานอย่างโรงแรม และร้านอาหาร เชฟที่ดูแลเรื่องวัตถุดิบ ต้องตอบคำถามของฝ่ายจัดซื้อ หรือเจ้าของกิจการ หรือผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรม สร้างความกดดันให้กับเชฟ ในการพิจารณานำสาหร่ายพวงองุ่นมาเป็นเมนู เพราะปัญหาของการจัดการดังกล่าว และของเสียที่ต้องทิ้ง และที่สำคัญคือกรอบเวลาของอายุสาหร่ายเป็นตัวเพิ่มความกดดันให้กับเชฟ หรือเจ้าของร้านในการเร่งขายสาหร่าย จากปัญหาดังกล่าว เราจึงได้ทำการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย เพื่อแก้ปัญหาของอายุของสาหร่ายพวงองุ่น และเราได้ทำสำเร็จเป็นขวด มีทั้งขวดแก้ว และขวดพลาสติก เหตุผลที่เรามีทำเป็นขวดแก้ว เพราะเราต้องการแบ่งเกรดของสาหร่าย และเพื่อการส่งออก เพราะทางยุโรปมีนโยบายไม่รับบรรจุภัณฑ์เป็นพลาสติก แต่ขวดพลาสติกจะสะดวกในการใช้งาน น้ำหนักเบากว่า ทำให้ค่าขนส่งถูกกว่า ไม่แตกง่ายเหมือนขวดแก้ว ขวดพลาสติกที่เราเลือกใช้เป็นระดับ food grade ที่ย่อยสลายได้ ไม่เป็นภัยต่อสภาพสิ่งแวดล้อม และผู้บริโภคด้วยวิธีการเก็บสาหร่ายแบบขวด เรามีเงื่อนไขหลัก ๆ อยู่ 5-6 ข้อ นั่นคือ
1.สาหร่ายต้องไม่เปลี่ยนสี
หากเรียกสาหร่ายบรรจุขวดว่าสาหร่ายดอง นิยามอาจจะไม่ตรงนัก เพราะไม่ว่าเราจะดองอะไรก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ หรือสัตว์ มักจะมีการเปลี่ยนสีแต่เงื่อนไขของ เราคือสาหร่ายต้องไม่เปลี่ยนสี
2.สาหร่ายต้องไม่เปลี่ยนรสชาติ
เช่นเดียวกันคือไม่ว่าจะดองอะไร รสชาติมักจะเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่จะมีรสเปรี้ยวแต่ด้วยเงื่อนไขของการวิจัย เราต้องคงรักษาไว้ซึ่งรสชาติของสาหร่ายเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
3.สาหร่ายต้องคืนสภาพเดิมเสมือนสาหร่ายสดไม่ต่ำกว่า 90%
เพราะผู้บริโภคคาดหวังว่า สาหร่ายพวงองุ่นต้องเป็นเม็ดกรุบกรอบ อันเป็นคุณลักษณะหลักของสาหร่ายพวงองุ่น ผลของการวิจัยเป็นที่น่าแปลกใจ และน่าพอใจคือสาหร่ายคืนสภาพได้เกิน 100% กล่าวคือ สาหร่ายกลับมาฟื้นตัว เปล่งปลั่งกว่าสาหร่ายสดเสียอีก
4.สาหร่ายต้องสามารถถูกจัดเก็บรักษาได้ในทุกสภาพอากาศ
ก็จะทำให้สาหร่ายสลด และไม่น่าทาน ผลจากการวิจัย ทำให้เราสามารถเก็บสาหร่ายไว้ในตู้เย็น หรือแม้กระทั่งช่อง Freeze ก็ไม่ทำให้น้ำในขวดที่บรรจุสาหร่ายเป็นน้ำแข็งอาจจะมีข้อแม้เพียงแค่ว่า ไม่ควรวางไว้ในที่ที่มีแสงแดด หรือแสงมาก เพราะมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้สภาพสาหร่ายในขวดเปลี่ยนสี เพราะสูญเสียครอโลฟิลด์
5.สาหร่ายต้องสามารถถูกเก็บรักษาได้ไม่ต่ำกว่า 12 เดือน
จากผลการตรวจ Central Lab ออกมาว่า ไม่พบเชื้อใด ๆ เราก็จะยิ่งมั่นใจว่า สาหร่ายแบบบรรจุขวดนี้ปลอดภัยแก่ผู้บริโภคได้นานถึง 12 เดือนนับจากการผลิต นั่นหมายถึงว่าเราจะสามารถส่งสาหร่ายให้กับลูกค้าได้ทั้งปี ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในช่วงฤดูกาลอีกต่อไป
6.สาหร่ายบรรจุขวดนี้ ต้องไม่มีสารเคมีใด ๆ เจือปนโดยเด็ดขาด
ไม่ว่าจะเป็นสารกันบูด หรือสารแม๊กนีเซียมเพื่อช่วยขยายเวลาของตัวคลอโรฟิลด์ในตัวสาหร่าย และที่สำคัญคือต้องปลอดจากเชื้อ Clostridium botulinum ที่ชอบอยู่ในสภาพที่มีออกซิเจนต่ำ เชื้อตัวนี้ปกติจะพบได้ในพบได้ในอาหารทุกประเภทที่มีการบรรจุขวด หรือกระป๋อง หรือบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีสภาพออกซิเจนต่ำ เป็นเชื้อที่อันตรายถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ หากมีการติดเชื้อเข้าไปด้วยเงื่อนไขดังกล่าว เราจึงใช้เวลานานกว่า 1 ปีครึ่งในการทำวิจัยและปัจจุบันได้รับการับรองจาก อย. เป็นที่เรียบร้อยและเราก็มั่นใจว่าสาหร่ายเรามีคุณภาพที่ดีตอบโจทย์ปัญหาที่สาหร่ายสดมีได้หมดทุกข้อ
ต้องขอขอบคุณสถาบันอย่าง มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง มหาวิทยาลัย ราชภัฏฯ และมหาวิทยาลัยบูรพา ที่มีส่วนร่วมในการทำวิจัยในครั้งนี้ทำให้เรามี Quality Product ที่สามารถส่งออก และทำเงินเข้าประเทศได้ในอนาคตอันใกล้ และทำให้คนไทยมีสาหร่ายที่ดี มีคุณภาพ มีประโยชน์ต่อร่างกายได้ทานกันตลอดปีอีกทั้งยังช่วยเกษตรกรที่ทำเกษตรแบบออแกนิคมีรายได้ที่สม่ำเสมอ เพราะสามารถส่งสาหร่ายให้กับบุญธิดาฟาร์มในการจัดการเรื่องทำความสะอาดและบรรจุขวดนับเป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ทำให้มาตรฐานชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น