หากจะพูดถึงความสำคัญของแหล่งที่มาของสาหร่ายพวงองุ่น มีความสำคัญอย่างไร เราคงต้องมองไปที่ 2 ประเด็นตัวอย่างที่น้อยคนจะเข้าใจ แรกเริ่มเดิมที กรมประมงฯ ได้ศึกษาและทำการวิจัย โดยนำสาหร่ายพวงองุ่นมาแก้ปัญหามลภาวะ อันเกิดจากการทำบ่อกุ้งที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีการบำบัดน้ำเสียก่อนนำปล่อยสู่แม่น้ำลำธาร และไหลลงสู่ทะเลในที่สุด สารเคมีที่มาจากบ่อกุ้งที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้ปลาในแม่น้ำลำธารตาย และเมื่อน้ำที่มีสารเคมีจากบ่อกุ้งไปถึงทะเล ก็ได้ทำลายประการังตามชายฝั่ง ทำให้สัตว์เล็ก ๆ อย่างปู ปลา อยู่ไม่ได้ นั่นหมายถึงระบบนิเวศน์เสียหาย ซึ่งผลของการวิจัยก็เป็นไปในแนวทางที่ดี และ ณ จุดนั้น หลายคนก็มองว่า สาหร่ายพวงองุ่นที่ได้ควรจะสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรที่เลี้ยงกุ้งไปด้วย แต่หากมองให้ลึกลงไปแล้วกล่าวคือ การทดลองจากการเอาน้ำจากบ่อกุ้งที่มีการเก็บกุ้งไปแล้ว และจะลงกุ้งใหม่ โดยเอาน้ำที่เต็มไปด้วยสารเคมีที่มาจากอาหารกุ้ง ยารักษาโรคของกุ้ง และสารเคมีต่าง ๆ ที่เกษตรบางคนใช้ในการเลี้ยงกุ้งไปลงในบ่อที่เลี้ยงสาหร่าย ปรากฏว่า ใช้เวลาไม่นาน น้ำที่เดิมเต็มไปด้วยสารเคมีที่อยู่ในบ่อเลี้ยงสาหร่าย เมื่อนำน้ำไปตรวจกลับกลายเป็นน้ำที่ดี สามารถสูบนำไปเลี้ยงกุ้งได้อีก และสาหร่ายพวงองุ่นที่ได้รับน้ำจากบ่อกุ้งที่มีสารเคมีก็เจริญเติบโตได้ดี แต่คำถามที่ทุกคนค้างคาอยู่ในใจคือ “สาหร่ายที่โตมานั้น หากนำมาบริโภคจะปลอดภัยหรือไม่ หรือหากผู้บริโภครู้ว่าขั้นตอนการเลี้ยงสาหร่ายผ่านกระบวนการดังกล่าว ผู้บริโภคจะมีความเชื่อมั่นในเรื่องของสารเคมีเจือปนอยู่ในสาหร่ายด้วยหรือไม่”