วิธีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น

หน้าปกวิธีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น

วิธีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น

    ก่อนที่จะเข้าสู่ความเข้าใจวิธีการเลี้ยงสาหร่าย เราควรจะทราบก่อนว่า ปัจจัยขั้นพื้นฐานที่สาหร่ายจะเจริญเติบโตคืออะไรบ้าง สาหร่ายพวงองุ่นเดิมทีอยู่ตามธรรมชาติหรืออยู่ลึกในทะเลถึง 5-6 เมตร บ้างก็เกาะบนโขดหิน หรือเจริญเติบโตตามพื้นดินใกล้ชายฝั่ง หากจะเพาะเลี้ยงในลักษณะของฟาร์ม ในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ ก็ต้องเข้าใจดังนี้คือ

1.สาหร่ายพวงองุ่นเป็นสาหร่ายน้ำเค็มเจริญเติบโตได้ดีในระดับความเค็มที่ 30 ppt ขึ้นไป (หรือน้ำที่มีเกลืออยู่ไม่ต่ำกว่า 3%) แต่ไม่ควรเกิน 38 ppt เพราะจะทำให้สาหร่ายมีสีแดง เสื่อมโทรมเร็ว และตายในที่สุด ค่าความเค็มในทะเลโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 35 ppt ทั่วโลก

2.สาหร่ายต้องการแสงที่เหมาะสม คำว่าเหมาะสมนั้นหมายถึง ลักษณะของบ่อ หรือสถานที่เลี้ยงสาหร่ายนั้น มีความลึกของบ่อไม่เท่ากัน และสภาพต่างกันออกไป และวิธีการเลี้ยงก็มีปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโต สาหร่ายไม่สามารถโดนแสงโดยตรงได้ โดยเฉพาะแสงอาทิตย์ เพียงแค่ 2 ชั่วโมงก็จะทำให้สาหร่ายล้ม และตายในที่สุด

3.การเคลื่อนไหวของน้ำ เพราะสาหร่ายดูดสารอาหารเข้าตัวเองผ่านผิวของสาหร่าย หากไม่มีการเคลื่อนไหวของน้ำ แร่ธาตุที่มีอยู่ถูกสาหร่ายดูดเข้าไปในตัวจนหมดแล้ว ถ้าไม่มีการหมุนเวียนของแร่ธาตุใหม่ ๆ เข้ามา สาหร่ายก็จะไม่มีสารอาหารเพียงพอที่จะทำให้ดำรงชีพอยู่ได้ แตกต่างจากปลา หากปลาหิว ปลาก็จะว่ายน้ำออกไปหาอาหารเอง แต่สาหร่ายอยู่กับที่ (ในกรณีเลี้ยงแบบแผงและแขวน) หากไม่มีกระแสน้ำเป็นตัวนำสารอาหารมาให้ สาหร่ายก็จะไม่มีสารอาหารในการนำมาใช้เพื่อการเจริญเติบโต

4.แร่ธาตุ หากเลี้ยงโดยธรรมชาติแล้ว สารอาหารและแร่ธาตุในน้ำทะเล โดยปกติก็เพียงพอต่อความต้องการของสาหร่าย แต่หากเลี้ยงในพื้นที่จำกัด มีการถ่ายเทน้ำทะเลไม่ได้มาก ก็อาจจะทำให้เกษตรกรบางคนใช้สารเคมีในการเร่งการเจริญเติบโตของสาหร่าย (ซึ่งทางฟาร์มไม่ใช้ เพราะปุ๋ยเคมี มีโอกาสตกค้างในตัวสาหร่าย) แร่ธาตุที่สาหร่ายต้องการคือ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส (เพียงแค่ไม่เกิน 3-5%)สาหร่ายพวงองุ่นไม่สามารถเลี้ยงได้ตลอดปี สาหร่ายจะเจริญพันธ์ได้ดีในช่วงเดือน มกราคม ถึงเดือนพฤษภาคม และจะเริ่มมีปัญหาหลังจากช่วงพฤษภามาเรื่อย ๆ เพราะเป็นการเพาะเลี้ยงในที่แจ้ง ปัญหาช่วงเดือนกรกฏาคม – พฤศจิกายน อาจจะเพราะสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ฝนมีผลต่อสาหร่าย ฟาร์มของเราเคยเจอสภาพฝนตกต่อเนื่อง 3-4 วัน สาหร่ายเสียหายทั้งบ่อ และต้องรอการปรับสภาพอีก 1-2 เดือน จึงจะสามารถเพาะเลี้ยงใหม่ได้ เป็นปัญหาที่ไม่ค่อยได้ถูกหยิบยกมาพูดถึงในสื่อใด ๆ ที่แพร่หลายออกไป

วิธีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายมี 3 วิธีหลักๆที่นิยมกัน​

    การเลี้ยงในบ่อ โดยพึ่งพาแร่ธาตุจากดิน และน้ำ
การเลี้ยงแบบแขวนด้วยแผงตาข่าย
การเลี้ยงในบ่อปูน และควบคุมสภาพแวดล้อม